27 พฤษภาคม, 2552

หน้าที่ชาวไทย





หมายถึง ภาระและความรับผิดชอบของประชาชนชาวไทยทุกคน ซึ่งต้องยึดถือปฏิบัติ ในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสองสถานะ คือ๑. ฐานะผู้ปกครอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้อำนายอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของปวงชนชาวไทยและประชาชนสามารถใช้อำนาจดังกล่าวผ่านการเลือกผู้แทนของตน อันได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ในรัฐสภาแทนตน๒. ฐานะผู้อยู่ภายใต้การปกครอง รัฐธรรมนูญนอกจากจะมีบทบัญญัติในเรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพไว้อย่างชัดเจนแล้ว ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่บางประการควบคู่ไปด้วย กล่าวคือ เมื่อรัฐได้ให้หลักประกันในสิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนแล้ว ประชาชนก็มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อรัฐด้วย รัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้กำหนดหน้าที่ของประชาชนไว้ในหมวดที่ ๔ ว่าด้วย “หน้าที่ของชนชาวไทย” สรุปได้ดังนี้
๑. หน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๒. หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
๓. หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
๔. หน้าที่ป้องกันประเทศ
๕. หน้าที่รับราชการทหาร
๖. หน้าที่เสียภาษีอากร
๗. หน้าที่ช่วยเหลือราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ
๘. หน้าที่รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายบัญญัติ
๙. หน้าที่พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑๐. หน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่กฎหมายบัญญัติ
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม
อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น